องค์การบริหารส่วนตำบล วังชมภู ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
   
 
 
   
 
 
 


 
ชาวบ้านในตำบลวังชมภู มีสภาพความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆ และเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อต่อการทำการเกษตร ทำให้ประชาชนที่นี่ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และในการดำเนินชีวิต ชาวบ้านก็ได้นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย
 
 


 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน7แห่ง

โรงเรียนสังกัด สพฐ. ในพื้นที่ตำบลวังชมภู
จำนวน 8 แห่ง
 


 
ในเขตพื้นที่ตำบลวังชมภู ประชาชนนับถือศาสนา 2 ศาสนา คือ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 98 และประชาชนนับถือศาสนาคริตส์ ประมาณร้อยละ 2
 
 


         

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง

อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ 100 เปอร์เซ็นต์
 
 
 
ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลวังชมภู ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและจำหน่วยเพื่อเป็นรายได้เสริม ในครัวเรือน ได้แก่ เสื่อที่ทอจากต้นกก ผ้าที่ทอจากผ้าฝ้ายและผ้าไหม เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่ เช่น กระติบข้าวเหนียว เป็นต้น
 
 
 
ประเพณีและงานประจำปี
ศิลปวัฒณธรรม จารีตประเพณี ที่สำคัญของท้องถิ่นที่ประชาชนปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันนี้ ได้แก่

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือนมกราคม

ประเพณีบุญผะเหวด ประมาณเดือนมีนาคม

ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือนเมษายน

ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประมาณเดือนพฤษภาคม

ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ประเพณีถวายเทียนเข้าพรรษา ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประมาณเดือนตุลาคม

ประเพณีบุญกระธูปออกพรรษา ประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

วันคริสมาสต์ เดือนธันวาคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตำบลวังชมภู ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญๆ ได้แก่

วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน  

การเลี้ยงไหม  

การทอผ้าไหม  

การทอเสื่อกก  

วิธีการจับปลาธรรมชาติ  
ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 95 พูดภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาอีสาน
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 044-100-741
 

 
  แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10